การรับบุตรบุญธรรม

การรับบุตรบุญธรรม

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 พ.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 21 ก.พ. 2567

| 20,305 view

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์

 

1. ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre) 

กรมกิจการเด็กและเยาวชน 
กลุ่มสำนักงานกลางการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ
โทรศัพท์  +662-306-8821 โทรสาร +662-354-7511
E-mail: [email protected]

เว็บไซต์ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม https://www.dcy.go.th/

 

2. สำนักงานรับบุตรบุญธรรมในโตเกียว หรือ International Social Service Japan (ISSJ)

โทรศัพท์ 03-5840-5711 โทรสาร 03-3868-0415

เว็บไซต์ International Social Service Japan (ISSJ) https://www.issj.org/adoption

 

 

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว หรือ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

 

หากต้องการจดทะเบียนรับเด็กที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทย ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ส่วนผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมต้องอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป

ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรสของทั้งสองฝ่ายจะต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง และสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

 

*ก่อนเข้ารับบริการ กรุณาส่งเอกสารประกอบทั้งหมดมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทางอีเมล์ [email protected] โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งกลับไปภายใน 5 วันทำการ เพื่อนัดหมายในลำดับต่อไป*

 

เอกสารของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

1. คำร้องนิติกรณ์
(แบบฟอร์มคำร้องนิติกรณ์ขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม)
2. บันทึกการสอบสวน
(แบบฟอร์มบันทึการสอบสวน)
3. หนังสือเดินทาง และสำเนา
4. บัตรประจำตัวประชาชนไทย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. กรณีเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน ให้เตรียมใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
7. หลักฐานแสดงถิ่นพำนักในญี่ปุ่น และสำเนา เช่น บัตรไซริวการ์ด
8. รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
9. กรณีจดทะเบียนสมรส ต้องนำใบสำคัญการสมรสตัวจริงหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส และคู่สมรสจะต้องมาลงลายมือชื่อที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
(หากคู่สมรสอยู่ที่ประเทศไทย ต้องมีหนังสือให้ความยินยอมจากคู่สมรสออกโดยอำเภอไทย ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้วไม่เกิน 3 เดือน) โดยคู่สมรสจะต้องเตรียมเอกสารและรูปถ่ายเช่นเดียวกันกับผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
10. กรณีจดทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า
11. หนังสือรับรองความเป็นโสดออกโดยอำเภอไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรองว่าไม่เคยสมรสกับผู้ใด ภายหลังการหย่าแทน โดยต้องผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้วไม่เกิน 3 เดือน พร้อมสำเนา 1 ชุด
12. พยานคนไทย 2 คน ให้เตรียมเอกสารหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนไทย และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนามาแสดงด้วย

 

เอกสารของคนญี่ปุ่นที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

1. คำร้องนิติกรณ์
(แบบฟอร์มคำร้องนิติกรณ์ภาษาญี่ปุ่น)
2. บันทึกการสอบสวน
(แบบฟอร์มบันทึการสอบสวน)
3. หนังสือเดินทาง และสำเนา
4. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
(การขอรับรองเอกสารจากกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช))

5. หนังสือรับรองการทำงาน ผ่านการประทับตรารับรองจากโนตารีพับลิค หรือโคโชนินยาคุบะ และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
6. หนังสือรับรองเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน ผ่านการประทับตรารับรองจากโนตารีพับลิค หรือโคโชนินยาคุบะ และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
7. หนังสือรับรองการเสียภาษี ออกโดยที่ว่าการอำเภอญี่ปุ่น
8. รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
9. กรณีจดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องมาลงลายมือชื่อเพื่อให้ความยินยอมที่สถานกงสุลใหญ่ฯ โดยให้เตรียมเอกสาร ดังนี้

คู่สมรสชาวญี่ปุ่น คู่สมรสชาวไทย

1)หนังสือเดินทาง และสำเนา
กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แทนได้
2)รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป

1)หนังสือเดินทาง และสำเนา
2)บัตรประจำตัวประชาชนไทย
3)สำเนาทะเบียนบ้าน
4)กรณีเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
5)หลักฐานแสดงถิ่นพำนักในญี่ปุ่น และสำเนา เช่น บัตรไซริวการ์ด
6)รูปถ่ายสี ขนาด 3 x 4 ซ.ม. 1 รูป
7)ใบสำคัญการสมรสหรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส

 

หมายเหตุ
● เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการยื่นคำร้อง กรุณาติดต่อกับเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อส่งสำเนาเอกสารมาให้ตรวจสอบล่วงหน้า ก่อนการนัดหมาย
● ในบางกรณีสถานกงสุลใหญ่ฯ อาจขอเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

**********************************

สถานะวันที่ 13 ก.ค. 2565