วันที่นำเข้าข้อมูล 15 มี.ค. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
คำถามที่พบบ่อยกรณีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศ
Q : เมื่อพบว่ามีคนไทยเสียชีวิต ควรทำอย่างไร
กรุณาแจ้งตำรวจ หลังจากนั้นตำรวจญี่ปุ่นจะเป็นผู้แจ้งต่อสถานกงสุลใหญ่หรือญาติของผู้เสียชีวิต หรือท่านอาจแจ้ง
สถานกงสุลใหญ่ฯ โดยตรงเพื่อขอรับคำปรึกษาด้วยก็ได้
Q: ผู้แจ้งการเสียชีวิต
ผู้ที่สามารถแจ้งการเสียชีวิต ได้แก่ บุคคลที่ไปกับผู้ตาย ผู้พบศพ หรือคนรู้จักผู้เสียชีวิต โดยผู้แจ้งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้อง
กับผู้เสียชีวิตก็ได้
Q: ในกรณีรู้จักกับคนไทยที่เสียชีวิต ตำรวจให้ไปยืนยันศพ แต่ไม่มีวีซ่ากลัวถูกตำรวจจับ ควรทำอย่างไร
แนะนำให้ผู้ที่มีวีซ่าและรู้จักกับผู้เสียชีวิตไปดำเนินการแทน
Q: คนไทยเสียชีวิตและไม่มีญาติในญี่ปุ่น ควรทำอย่างไร
ผู้ที่รู้จักกับผู้เสียชีวิตควรติดต่อกลุ่มอาสาสมัคร องค์กรการกุศล หรือแจ้งสถานกงสุลใหญ่ฯ
Q: ในกรณีที่นักท่องเที่ยวคนไทยเสียชีวิต ควรทำอย่างไร
- ในกรณีที่เดินทางมากับคณะทัวร์ เจ้าหน้าที่ของคณะทัวร์จะเป็นผู้แจ้งตำรวจและดูแลขั้นตอนต่าง ๆ
- ในกรณีที่ไม่ได้เดินทางมากับคณะทัวร์ กรุณาแจ้งตำรวจและให้ตำรวจแจ้งสถานกงสุลใหญ่ หรือแจ้งสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยตรงเพื่อขอรับคำปรึกษา
- เมื่อนักท่องเที่ยวเสียชีวิต ทางโรงพยาบาลจะชันสูตรศพและออกใบรับรองการเสียชีวิต (ชิโบชินดันโชะ死亡診断書) เพื่อนำไปใช้ในการออกมรณบัตรที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ต่อไป
Q: ในกรณีที่ผู้เสียชีวิตอาศัยในประเทศญี่ปุ่น ควรทำอย่างไร
- กรุณาแจ้งตำรวจ และอำเภอญี่ปุ่นที่ผู้เสียชีวิตพำนัก โดยมีหลักฐานเพื่อยื่นต่อหน่วยงานดังกล่าว ดังนี้
1. เอกสารแสดงตัวของผู้เสียชีวิต เช่น หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (ไซริวการ์ด 在留カード)
2. ใบรับรองการเสียชีวิต (ชิโบชินดันโชะ死亡診断書) จากโรงพยาบาลญี่ปุ่น และใบแจ้งการเสียชีวิต (ชิโบโทโดเคเดโชะ 死亡届出書) จากอำเภอ ซึ่งเป็นเอกสารในแผ่นเดียวกัน โดยขอได้ที่อำเภอหรือโรงพยาบาล และแพทย์ที่ชันสูตรเป็นผู้ลงนามรับรอง
3. หลักฐานแสดงตนของผู้แจ้ง เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (ไซริวการ์ด 在留カード) , หนังสือเดินทาง
4. ตราประทับ (อินคัง印鑑) ของผู้แจ้ง ถ้าไม่มีสามารถใช้ลายเซ็นได้
- อำเภอจะเก็บบัตรประจำตัวคนต่างด้าว (ไซริวการ์ด在留カード) หรือบัตรแสดงวีซ่าตลอดชีพ (โทคุเบทสึเอจูชะโชเมโชะ 特別永住者証明書) ของผู้ตาย และอำเภอจะแจ้งการตายไปที่แผนกคนต่างชาติ ฝ่ายกงสุล กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น จากนั้นกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นจะติดต่อมาที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
Q: แจ้งการเสียชีวิตของคนไทยที่อำเภอญี่ปุ่นแล้ว ต้องไปแจ้งที่สถานกงสุลใหญ่อีกหรือไม่
- จำเป็นต้องแจ้งการเสียชีวิตของคนไทยที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อออกใบมรณบัตรไทยให้แก่ผู้เสียชีวิต เมื่อได้รับมรณบัตรแล้วให้ญาติผู้เสียชีวิตนำมรณบัตรไปแจ้งการเสียชีวิตที่เขต/ที่ว่าการอำเภอในประเทศไทยที่ผู้เสียชีวิตมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อให้นายทะเบียนดำเนินการจำหน่ายชื่อของผู้เสียชีวิตออกจากรายการทะเบียนบ้านไทย
Q: ค่าธรรมเนียมการแจ้งเสียชีวิต
- ไม่เสียค่าธรรมเนียมสำหรับการออกมรณบัตร
- ค่าธรรมเนียมสำหรับการรับรองเอกสาร ฉบับละ 2,000 เยน
Q: สามารถแจ้งการเสียชีวิตของคนไทยเมื่อใด
- ภายใน 24 ชั่วโมง หรือในโอกาสแรกเท่าที่จะสามารถทำได้
Q: เรื่องการเผาศพ ติดต่อที่ใด มีค่าใช้จ่ายเท่าใด
- สถานที่เผาศพในแต่ละเขต/อำเภอ ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำประมาณ 280,000 เยน
บริษัทเผาศพในญี่ปุ่น
1.บริษัท Zensoren มีสาขาทั่วประเทศ
http://www.zensoren.or.jp/ichiran/fukuoka.php
2.บริษัท Nihon Ceremony มีสาขาในภูมิภาคคิวชิวและจูโกะกุ
http://www.nihon-ceremony.jp/funeral/index.html
มีค่าเก็บศพขั้นต่ำวันละ ประมาณ 10,000 เยน
Q: ค่าใช้จ่ายในการส่งศพกลับประเทศไทยประมาณเท่าใด
- ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำประมาณ 800,000 เยน ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ให้บริการและค่าธรรมเนียมสายการบิน
- ในกรณีใช้บริการบริษัทจัดส่งศพในลักษณะ one-stop services (ดำเนินการทั้งด้านเอกสารและการจัดส่ง) อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 ล้านเยน
บริษัทจัดส่งศพกลับประเทศ
1.บริษัท Top Reliance ให้บริการได้ทั่วประเทศ โทรศัพท์ 0120-110-856 http://top-reliance.jp/embalming
2.บริษัท Ceremony Kyushu Kaname มีสาขาในฟูกูโอกะ โทรศัพท์ 0948-26-2611 http://ckk-noukan.jp/
เอกสารที่จำเป็นในการส่งศพกลับประเทศ
1.หนังสือเดินทางของผู้เสียชีวิต
2.หนังสือรับรองการตาย (ชิโบชินดันโชะ死亡診断書) ที่มีแพทย์เป็นผู้รับรอง
3.เอกสารต่างๆเกี่ยวกับการส่งศพ ซึ่งทางบริษัทจะจัดเตรียมให้
Q: นำอัฐิกลับเมืองไทยก่อนแล้วไปแจ้งการเสียชีวิตที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ภายหลังได้หรือไม่
- แนะนำให้ดำเนินการขอมรณบัตรไทยให้แก่ผู้เสียชีวิตที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ก่อนที่จะส่งอัฐิ เพื่อสะดวกต่อการแสดงหลักฐานการเสียชีวิต ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกรณีถูกสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอัฐิของผู้เสียชีวิต
Q: เวลานำอัฐิกลับประเทศไทย ต้องซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อวางอัฐิหรือไม่
-ไม่จำเป็น แต่ควรใส่ในกระเป๋าถือ ไม่ถือขึ้นเครื่องบินในลักษณะกล่องหรือห่อผ้า
วันจันทร์ - วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลาให้บริการ 9.30 - 11.30 น. และ 13.30 - 15.00 น.
เวลาทำการ 9.00 - 12.00 น. และ 13.30 - 17.30 น.
ช่องทางการติดต่อ
◦ ฝ่ายกงสุล (งานหนังสือเดินทาง บัตรประชาชน นิติกรณ์เอกสาร การตรวจลงตรา และอื่น ๆ)
โทร : 092-739-9090 (15.30 - 17.30 น.)
Email : [email protected]
◦ สำนักงาน
โทร : 092-739-9088
แฟกซ์ : 092-739-9089
Email : [email protected]
>> กรณีฉุกเฉิน ติดต่อ 090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515 (สำหรับคนไทยขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินเท่านั้น) <<