วันที่นำเข้าข้อมูล 18 มี.ค. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 มี.ค. 2568
*ก่อนเข้ารับบริการ กรุณาส่งเอกสารประกอบทั้งหมดมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทางอีเมล์ [email protected] โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งกลับไปภายใน 5 วันทำการ เพื่อนัดหมายในลำดับต่อไป* |
กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวญี่ปุ่น |
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
1. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยอำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
3. ขอทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) 1 ชุด ที่ระบุว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น
4. แปลทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) เป็นภาษาอังกฤษและนำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) จากนั้น นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) ที่โนตารีพับลิคนั้นๆ สังกัดอยู่ แล้วจึงนำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) ตามลำดับ
ปัจจุบันโนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) ในกรุงโตเกียว จ.ฮอกไกโด จ.มิยากิ จ.คานากาวะ จ.ชิซึโอกะ จ.ไอจิ นครโอซากา และจ.ฟูกูโอกะ มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) กล่าวคือ หากยื่นคำร้องที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) ในจังหวัดดังกล่าว สามารถขอรับตราประทับของโนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) ได้ในคราวเดียว โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) อีก |
5. แปลทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) และเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว เป็นภาษาไทย
ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ
6. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) และเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
***หากผู้ร้องสัญชาติไทยไม่สามารถกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทยได้ กรุณายื่นคำร้องตามข้อ 7. และ 8.***
7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย)
8. ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิงที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)
ขั้นตอนการขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส ที่ประเทศไทย
9. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) และเอกสารแนบทุกหน้า พร้อมคำแปลภาษาไทยที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
10. นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 9. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย
11. สำนักทะเบียนออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส และแก้ไขคำนำหน้านามภายหลังการสมรสในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
***หากประสงค์ใช้ชื่อสกุลของคู่สมรส กรุณายื่นคำร้องตามข้อ 12.***
12. ขอบันทึกเรื่องข้อตกลงการใช้การชื่อสกุลในทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี
1) กรณีที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทย ภายหลังที่สำนักทะเบียนบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวแล้ว สามารถขอบันทึกเพิ่มเติมเรื่องข้อตกลงการใช้การชื่อสกุล และขอเปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรสที่สำนักทะเบียนได้
2) กรณีที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายไม่สามารถกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทยได้ ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนำทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว ตามข้อ 11. มาขอทำบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ แล้วจึงมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปขอบันทึกเพิ่มเติมเรื่องข้อตกลงการใช้การชื่อสกุล และขอเปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรสที่สำนักทะเบียนต่อไป
13. หากมีการเปลี่ยนคำนำหน้านามและชื่อสกุล ให้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯได้)
กรณีจดทะเบียนสมรสกับคนไทยหรือชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น |
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
1. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยอำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
3. ขอหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) 1 ชุด จากอำเภอญี่ปุ่น
4. แปลหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) เป็นภาษาอังกฤษ และนำไปประทับตรารับรองลายมือชื่อผู้แปลที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) จากนั้น นำไปประทับตรารับรองที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) ที่โนตารีพับลิคนั้นๆ สังกัดอยู่ แล้วจึงนำไปประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) ตามลำดับ
ปัจจุบันโนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) ในกรุงโตเกียว จ.ฮอกไกโด จ.มิยากิ จ.คานากาวะ จ.ชิซึโอกะ จ.ไอจิ นครโอซากา และจ.ฟูกูโอกะ มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) กล่าวคือ หากยื่นคำร้องที่โนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) ในจังหวัดดังกล่าว สามารถขอรับตราประทับของโนตารีพับลิค (โคโชนินยาคุบะ) สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) ได้ในคราวเดียว โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สำนักกฎหมาย (โฮมุเคียคุ) และกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) อีก |
5. แปลหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) และเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว เป็นภาษาไทย
ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ
6. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) และเอกสารแนบทุกหน้าที่ผ่านการประทับตรารับรองตามข้อ 4. แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
***หากผู้ร้องสัญชาติไทยไม่สามารถกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทยได้ กรุณายื่นคำร้องตามข้อ 7. และ 8.***
7. ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย)
8. ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิงที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)
ขั้นตอนการขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส ที่ประเทศไทย
9. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) และเอกสารแนบทุกหน้า พร้อมคำแปลภาษาไทยที่ประทับตรารับรองจากสถานกงสุลใหญ่ฯไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
10. นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 9. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย
11. สำนักทะเบียนออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส และแก้ไขคำนำหน้านามภายหลังการสมรสในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
***หากประสงค์ใช้ชื่อสกุลของคู่สมรส กรุณายื่นคำร้องตามข้อ 12.***
12. ขอบันทึกเรื่องข้อตกลงการใช้การชื่อสกุลในทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว โดยแบ่งเป็น 2 กรณี
1) กรณีที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทย ภายหลังที่สำนักทะเบียนบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวแล้ว สามารถขอบันทึกเพิ่มเติมเรื่องข้อตกลงการใช้การชื่อสกุล และขอเปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรสที่สำนักทะเบียนได้
2) กรณีที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายไม่สามารถกลับไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทยได้ ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนำทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว ตามข้อ 11. มาขอทำบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ แล้วจึงมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปขอบันทึกเพิ่มเติมเรื่องข้อตกลงการใช้การชื่อสกุล และขอเปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรสที่สำนักทะเบียนต่อไป
13. หากมีการเปลี่ยนคำนำหน้านามและชื่อสกุล ให้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯได้)
การขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่ประเทศไทย |
หลังจากจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และประสงค์จะขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่สำนักทะเบียนในประเทศไทย คู่สมรสทั้งสองฝ่ายสามารถกลับไปยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองที่ประเทศไทย แต่หากไม่สะดวกไปยื่นด้วยตนเอง สามารถขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะได้ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. คำร้องนิติกรณ์มอบอำนาจ
(แบบฟอร์มคำร้องนิติกรณ์ขอหนังสือมอบอำนาจ)
2. คำร้องขอนิติกรณ์อื่น ๆ อาทิ ขอตราประทับรับรองในเอกสารแปล ขอรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้ากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
(แบบฟอร์มคำร้องขอนิติกรณ์อื่น ๆ)
3. หนังสือเดินทาง
4. บัตรประจำตัวประชาชน
5. สำเนาทะเบียนบ้านไทย
6. หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
7. บัตรประจำตัวผู้พำนัก (เช่น บัตรไซริวการ์ด SOFA ID Card เป็นต้น)
8. กรณีจดทะเบียนที่อำเภอญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่น: ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) และสำเนา
กรณีจดทะเบียนที่อำเภอญี่ปุ่นกับบุคคลสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น: หนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) และสำเนา
9. หนังสือเดินทางของคู่สมรส และสำเนา
10. สำเนาบัตรประชาชนไทยและทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด
ค่าธรรมเนียม
● รับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น 3,000 เยน ต่อ ตราประทับ
● ขอตราประทับรับรองในเอกสารแปลทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น-สมรส (โคเซกิโทฮง) 3,000 เยน ต่อ ตราประทับ
● ขอบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล 3,000 เยน ต่อ ตราประทับ
● ขอหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้าหญิง (กรณีฝ่ายหญิงถือสัญชาติไทย) 3,000 เยน ต่อ ตราประทับ
● หนังสือมอบอำนาจ 3,000 เยน ต่อ ตราประทับ
หมายเหตุ
● ในบางกรณีสถานกงสุลใหญ่ฯ อาจขอเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย
● กรุณาลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารสำเนาทุกฉบับ
***********************************************
สถานะวันที่ 5 ก.พ. 2568
วันจันทร์ - วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลาให้บริการ 9.30 - 11.30 น. และ 13.30 - 15.00 น.
เวลาทำการ 9.00 - 12.00 น. และ 13.30 - 17.30 น.
ช่องทางการติดต่อ
◦ ฝ่ายกงสุล
โทร : 092-739-9090 (15.30 - 17.30 น.)
งานหนังสือเดินทาง บัตรประชาชน นิติกรณ์เอกสาร การคุ้มครองดูแลคนไทย และอื่น ๆ
Email : [email protected]
◦ สำนักงาน
โทร : 092-739-9088
แฟกซ์ : 092-739-9089
Email : [email protected]
>> กรณีฉุกเฉิน ติดต่อ 090-2585-3027 (สำหรับคนไทยขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินเท่านั้น) <<