วันที่นำเข้าข้อมูล 12 มี.ค. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 มี.ค. 2562
คำถามเกี่ยวกับสัญชาติ
A. บุตรของคนไทยที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จะได้สัญชาติไทยตามกฎหมายเมื่อไปแจ้งเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯ จากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ จะออกสูติบัตรให้ โดยบิดามารดาไทยจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง แบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้
1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถมายื่นคำร้องเพียงผู้เดียวได้
2. กรณีมารดาไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของบุตร และมารดาไม่ประสงค์ใส่ชื่อบิดาในสูติบัตรของบุตร มารดาสามารถยื่นคำร้อง ขอแจ้งเกิดให้บุตรเพียงผู้เดียวได้
3. กรณีมารดาไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของบุตร แต่มารดาประสงค์ใส่ชื่อบิดาในสูติบัตรของบุตร มารดาและบิดา พร้อมพยานบุคคล 2 คน จะต้องมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดให้บุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯ ด้วย
A. บุตรจะไม่มีสัญชาติไทย และไม่สามารถขอทำหนังสือเดินทางไทยและบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้
A. บุตรที่เกิดในระหว่างสมรส หรือบุตรที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองเป็นบุตรแล้ว
A. เดิมพระราชบัญญัติสัญชาติ ปี พ.ศ. 2508 ยินยอมให้บุคคลได้สัญชาติไทยในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติในปี พ.ศ. 2535 จึงเปิดโอกาสให้บุคคลได้รับสัญชาติไทยได้มากขึ้น รวมทั้งผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และมิได้สัญชาติไทยเมื่อแรกเกิดจึงได้รับสัญชาติไทยเป็นการย้อนหลัง
A. ได้ สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สามารถยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยให้บุตรย้อนหลังได้ ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่มีชื่อบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน
A. ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้ และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ
A. กรุณาติดต่อขอทราบรายละเอียดจากที่ว่าการอำเภอ/เขตญี่ปุ่น หรือกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น (โฮมุเคียวคุ)
A. คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อได้ขอสละสัญชาติไทย และมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น
A. เด็กถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุ 20 ปี จากนั้นจึงทำการเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง
A. ผู้ที่จะยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยนั้น ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
1. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการกองบังคับการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
2. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น
3. ผู้ที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำร้องต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น
A. ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนที่เขต/อำเภอ เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. เขต/อำเภอจะส่งตัวผู้ขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิสูจน์สัญชาติ 2. หากผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้มีสัญชาติไทย ให้เจ้าบ้านติดต่อเขต/อำเภอเพื่อสอบสวน 3. เขต/อำเภอจะกำหนดเลขประจำตัวประชาชนให้ 4. เขต/อำเภอเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน
A. ได้ โดยนำสูติบัตรที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ไปยื่นขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียนเขต/อำเภอ
A. เมื่ออายุครบ 18 ปี จะต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในประเทศไทย
A. กฎหมายไทยมิได้กำหนดว่าให้สละสัญชาติไทย แต่หากประสงค์จะสละสัญชาติไทย ก็สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอสละสัญชาติไทยได้ อย่างไรก็ดี กรณีขอแปลงสัญชาติเป็นญี่ปุ่น กฎหมายญี่ปุ่นบังคับให้สละสัญชาติเดิมภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับสัญชาติญี่ปุ่น
วันจันทร์ - วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลาให้บริการ 9.30 - 11.30 น. และ 13.30 - 15.00 น.
เวลาทำการ 9.00 - 12.00 น. และ 13.30 - 17.30 น.
ช่องทางการติดต่อ
◦ ฝ่ายกงสุล (งานหนังสือเดินทาง บัตรประชาชน นิติกรณ์เอกสาร การตรวจลงตรา และอื่น ๆ)
โทร : 092-739-9090 (15.30 - 17.30 น.)
Email : [email protected]
◦ สำนักงาน
โทร : 092-739-9088
แฟกซ์ : 092-739-9089
Email : [email protected]
>> กรณีฉุกเฉิน ติดต่อ 090-2585-3027 หรือ 090-9572-1515 (สำหรับคนไทยขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินเท่านั้น) <<